Pages

Monday, August 3, 2020

"ป้ายรถเมล์อัจฉริยะ" 700 ล้านทั่วกรุง "แพลน บี มีเดีย" คว้าสัมปทาน 10 ปี - ประชาชาติธุรกิจ

buahasema.blogspot.com

เผยโฉมกันไปแล้ว “ป้ายรถเมล์อัจฉริยะ” ที่ “บิ๊กวิน-พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง” ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เนรมิตให้คนกรุงได้ใช้บริการแห่งแรกหน้าศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา แกรนด์ พระราม 9 เมื่อวันที่ 30 ก.ค.ที่ผ่านมา

พล.ต.อ.อัศวินระบุว่า ปัจจุบันในพื้นที่กรุงเทพฯมีป้ายรถเมล์ 5,000 หลัง ใช้บริการได้ 3,000 หลัง ซึ่งโครงการนี้เป็นการปรับปรุงศาลาที่พักผู้โดยสารประจำทางรูปแบบเดิม จำนวน 691 หลังทั่ว กทม.ให้เป็นแบบอัจฉริยะ หรือ smart bus shelter ในจุดที่มีคนใช้บริการจำนวนมาก มี บมจ.แพลน บี มีเดีย เป็นผู้รับสัมปทานบริหารและบำรุงรักษาโครงการ ระยะเวลา 10 ปี แลกกับการหารายได้จากการขายสื่อโฆษณาบริเวณป้ายรถเมล์และป้ายโฆษณาของ กทม.จำนวน 1,170 ป้าย

รูปแบบใหม่ที่ กทม.จะดำเนินการ มี 2 รูปแบบ คือ แบบ full function จำนวน 100 หลัง มีระบบบอกสายรถโดยสารประจำทางและเวลาการมาถึงของรถโดยสารประจำทางบนจอ LFD ขนาด 32 นิ้ว ให้ประชาชนสามารถวางแผนการเดินทาง มีระบบรักษาความปลอดภัยด้วยการติดตั้งระบบกล้อง CCTV และระบบไฟฟ้าส่องสว่าง ระบบการแสดงข้อมูลข่าวสารบนจอแสดงผลขนาด 55 นิ้ว ระบบชาร์จแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือ และ free Wi-Fi และ แบบ light function จำนวน 250 หลัง จะไม่มีจอแสดงผลขนาด 55 นิ้ว และระบบ Wi-Fi router

“สิ้นปีนี้เร่งให้เสร็จ 200 จุด และในเดือน เม.ย. 2564 จะครบทั้ง 350 จุด ก่อนจะเริ่มขยายไปสู่ป้ายอื่น ๆ ต่อไป แต่เท่าที่ดูยังมีบางจุดที่ต้องการให้เอกชนทำเพิ่มเติม คือที่กั้นหลังป้ายรถเมล์ ตอนนี้ออกแบบในลักษณะเปิดโล่ง เมื่อฝนตกอาจจะทำให้ฝนสาดผู้โดยสารที่รอรถได้ ควรหาอะไรมาปิดกั้นบริเวณหลังป้าย และในส่วนของ light function อยากให้คงกล้องวงจรปิดไว้ 2 จุดตามเดิม ไม่ควรลดให้เหลือจุดเดียว”

นอกจากนี้ กทม.ยังพัฒนาระบบบอกเวลาการมาถึงของรถโดยสารประจำทางที่พัฒนาสำหรับแสดงผลบนโทรศัพท์มือถือผ่านแอปพลิเคชั่น Via Bus ให้บริการค้นหาป้าย สายรถ เส้นทางการเดินรถ วิธีการเดินทางแต่ละจุด แสดงป้ายรถประจำทางที่อยู่ใกล้ที่สุด ตำแหน่งและระยะเวลาที่จะมาถึงของรถที่จะผ่านแต่ละป้าย ทั้งรูปแบบข้อความหรือแผนที่ รวมถึงแสดงข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับการจราจรและการเดินทางอื่น ๆ ปัจจุบันสามารถให้บริการข้อมูลตำแหน่งและระยะเวลารถที่จะมาถึงป้ายเฉพาะรถโดยสาร ขสมก.ที่ติด GPS อยู่ระหว่างพัฒนาให้ครอบคลุมมากขึ้น

ด้าน “กิติภูมิ ภู่เปลี่ยน” ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บมจ.แพลน บี มีเดีย กล่าวว่า ป้ายรถเมล์ที่รับสัมปทานมามีจำนวน 691 หลัง แต่จะดำเนินการนำร่องก่อน 350 หลัง โดยต้นทุนการก่อสร้าง ในส่วนของป้ายแบบ full function มีต้นทุนอยู่ที่ 750,000 บาท/หลัง ส่วนแบบ light function ต้นทุนจะอยู่ที่ 600,000 บาท/หลัง ยังไม่รวมค่าวางระบบไฟฟ้า

โดยบริษัทใช้เงินลงทุนในโครงการนี้ประมาณ 700 ล้านบาท แบ่งเป็นวงเงินลงทุนก่อสร้างและวางระบบประมาณ 400 ล้านบาท และค่าใช้สิทธิ์ป้ายรถเมล์ ต้องจ่ายให้ กทม.รวม 10 ปี ประมาณ 300 ล้านบาท เฉลี่ยจ่ายปีละ 30 ล้านบาท ซึ่งอยู่ระหว่างคำนวณค่าใช้จ่ายด้านงานบำรุงรักษาเพิ่มเติม

“เลือกนำร่องที่เซ็นทรัล พระราม 9 เพราะเป็นจุดที่มีประชาชนมาใช้บริการมากช่วงเร่งด่วนเช้า-เย็น เพราะรายล้อมไปด้วยห้างสรรพสินค้า อาคารสำนักงาน และเป็นจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้า MRT ด้วย”

และหลังจากนำร่องที่เซ็นทรัลพระราม 9 แล้ว ต่อไปจะทยอยปรับปรุงป้ายรถเมล์ตามแนวถนนรัชดาภิเษกต่อโดยภายในเดือน ต.ค.นี้จะแล้วเสร็จทั้งหมด จากนั้นดำเนินการต่อที่บริเวณสวนจตุจักร, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ถนนพญาไท และถนนพหลโยธิน

Let's block ads! (Why?)



"การมา" - Google News
August 04, 2020 at 10:02AM
https://ift.tt/3fsoUD2

"ป้ายรถเมล์อัจฉริยะ" 700 ล้านทั่วกรุง "แพลน บี มีเดีย" คว้าสัมปทาน 10 ปี - ประชาชาติธุรกิจ
"การมา" - Google News
https://ift.tt/3cm7t5w
Home To Blog

No comments:

Post a Comment