"หมอเกรียง" พร้อมกลุ่มเพื่อน อุ้มพระไพรีพินาศ พระเจ้าตากสิน กลับมารับตำแหน่ง "รักษาการผู้อำนวยการโรงพยาบาลขอนแก่น" เป็นที่เรียบร้อย ท่ามกลางการต้อนรับที่อบอุ่น ยันไม่มีเกี่ยวข้องบัตรสนเท่ห์
เมื่อเวลา 09.39 น.วันที่ 5 มิถุนายน นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ เดินทางถึงโรงพยาบาลขอนแก่น เพื่อปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่ง รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลขอนแก่น โดยมีหลวงพ่อสายทอง เตชะธรรมโม พระวัดป่าห้วยกุ่ม อ.เกษตรสมบูรณ์ จ.ชัยภูมิ เกจิอาจารย์สายวิปัสสนาเดินนำหน้า เข้ากราบไหว้พระพรหมที่บริเวณด้านหน้าโรงพยาบาล ในขณะเดียวกันก็มีเพื่อนและญาติมิตรถือรูปหล่อพระเจ้าตากสิน 2 องค์ พระไพรีพินาศ 2 องค์ และรูปหล่อพระปางสมาธิสีดำ เดินตามหลัง ท่ามกลางการต้อนรับของบุคลากรทางการแพทย์ ที่ร่วมกันมอบดอกกุหลาบ จากนั้น นพ.เกรียงศักดิ์ ได้ไปที่ห้องประชุมจำลอง มุ่งการดี เพื่อพบปะกับบุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาล และ อสม.ที่มาจาก อ.ชุมแพ พร้อมกลุ่มเพื่อน แพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์ที่มาจากจันทบุรี
บรรยากาศภายในห้องประชุม หลวงพ่อสายทอง ได้แสดงพระธรรมเทศนาแก่บุคลากรทางแพทย์และผู้ที่มาให้การต้อนรับ พร้อมทั้งมอบพระผง ซึ่งเป็นเหรียญรุ่นหยดน้ำให้กับทุกๆ คน จากนั้น นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลขอนแก่น ได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน ถึงความขัดแย้งและกระแสที่ไม่ต้อนรับในช่วง 2-3 ที่ผ่านมาว่า สิ่งที่เกิดขึ้นไม่มีอุปสรรคต่อการทำงาน เพราะเป็นเรื่องปกติในระบบการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ ที่มีวุฒิภาวะและความรู้ความสามารถ เพราะทุกๆ ที่ก็จะต้องเจอเหตุการณ์แบบนี้ด้วยกันทั้งสิ้น และไม่ใช่เรื่องแปลกที่บุคลากรหรือผู้บริหารที่ทำงานอยู่ในโรงพยาบาลต่างๆ จะได้รับความรักจากบุคลากรคนเก่า เพราะฉะนั้นก็ไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะแสดงออก และไม่ใช่เรื่องที่เสียหาย
นพ.เกรียงศักดิ์ ยังให้สัมภาษณ์ถึง การบริหารงานในโรงพยาบาลขอนแก่นว่า เรื่องแรกที่เป็นเรื่องเร่งด่วนในการบริหารงานนั้นก็เป็นเรื่องเดียวกันทั่วประเทศในการรับมือกับสถานการณ์เชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ยังมีการระบาดอยู่ในขณะนี้
"การตรวจสอบ กรณีที่เกี่ยวข้องกับผู้อำนวยการโรงพยาบาลคนเดิม ก็ต้องปล่อยให้เป็นไปตามกระบวนการของผู้บังคับบัญชาที่สั่งการมา ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกัน ก็คงไม่ต่างกับครั้งที่แล้วที่ผมเข้ามารับตำแหน่ง ผอ.รพ.ขอนแก่น เมื่อปี 2561 คำสั่งออกวันที่ 2 ต.ค.61 ให้มาปฏิบัติงานในวันที่ 8 ต.ค.2561 พอวันที่ 9 ต.ค.2561 ให้ไปปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลพระปกเกล้าผมก็ต้องไป นั่นคือหน้าที่ที่ข้าราชการทุกคนจะต้องทำตามคำสั่ง”
นพ.เกรียงศักดิ์ ยังกล่าวถึงกรณีที่มีกระแสว่าตนเองเป็นคนเขียนบัตรสนเท่ห์ร้องเรียนนั้น ทุกคนคงทราบดีว่า ตนเองไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆกับเรื่องดังกล่าว ส่วนเรื่องเงินบริจาคก็ต้องว่าไปตามกฎระเบียบที่มีอยู่แล้วว่าจะต้องทำอย่างไร เพราะต้องแยกให้ออกว่าเงินสวัสดิการกับเงินบริจาคนั้นต่างกันอย่างไร ในอดีตที่ผ่านมานั้นภาครัฐรู้ดีว่า เงินสวัสดิการทางภาครัฐ มีความจำเป็น สำหรับเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงานที่ภาครัฐไม่สามารถตอบสนองได้ครบถ้วนหมด เพราะบางอย่างเบิกไม่ได้ โดยเมื่อปี 60 เกิดปัญหาในเรื่องของเปอร์เซ็นต์ยา ที่ทำให้เกิดข้อใช้จ่ายที่ภาครัฐมองว่าไม่เหมาะสม ที่ทำให้ ป.ป.ช.เสนอตัวเลขขึ้นมาว่า ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพบางตัวเลขอาจจะเกินความจำเป็น เช่น เราซื้อยา 100 บาท สวัสดิการ 5 บาท ทำให้ตีความว่าเงิน 100 บาทนั้นคือเงินสาธารณะ และเมื่อเงิน 100 บาทนั้นทอน ลดลง หรือมีส่วนลดหรือได้ของแถมก็ตาม ใน 5 บาทนั้น ภาครัฐก็ต้องได้รับการลด ทำให้มองว่า 5 บาทนั้นไม่สามารถนำมาใช้กับกลุ่มสวัสดิการเจ้าหน้าที่บางส่วนได้ จึงออกกฎหมายมติเข้า ครม. ทำให้มีกฎหมายกำหนดเอาไว้ชัดและมีโทษที่ร้ายแรง ที่ทุกคนจะต้องปฏิบัติตาม ซึ่งก็จะต้องแยกให้ออกถ้าเป็นเงินบริจาคก็คือเงินบริจาค โดยทางกระทรวงสาธารณสุขออกระเบียบมาให้ซึ่งเงินบริจาคนั้นก็จะมีคณะกรรมการอยู่ 7 คนที่จะดูแลซึ่งทุกๆ โรงพยาบาลปฏิบัติตามเหมือนกันหมด.
อ่านเพิ่มเติม...
"การมา" - Google News
June 05, 2020 at 02:24PM
https://ift.tt/3dCtj6f
"หมอเกรียง" มากับพระ กลับรักษาการ รพ.ขอนแก่น ยันไม่เกี่ยวบัตรสนเท่ห์ - ไทยรัฐ
"การมา" - Google News
https://ift.tt/3cm7t5w
Home To Blog
No comments:
Post a Comment