Pages

Thursday, June 25, 2020

เปิดผลงาน “ซีอีโอ PTT” ในรอบ 20 ปี - efinanceThai

buahasema.blogspot.com
เปิดผลงาน “ซีอีโอ PTT” ในรอบ 20 ปี

efin Review

เปิดผลงาน “ซีอีโอ PTT” ในรอบ 20 ปี

เข้าสู่ปีที่ 20 ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT ในฐานะบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์  หากย้อนเวลากลับไปเมื่อ 20 ปีก่อนหน้าปตท. ได้แปรรูปจากการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยเป็นบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ในวันที่ 1 ต.ค.2544 ก่อนที่ต่อมา ปตท.ได้เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 6 ธ.ค.44 วันนั้นจึงเป็นก้าวย่างแรกของ ปตท.ในฐานะบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่จะต้องดูแลผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น และสมบัติทรัพยากรของชาติควบคู่กัน

ทางสำนักข่าวอีไฟแนนซ์ ได้รวบรวมผลงานของ กรรมการผู้จัดการใหญ่ (CEO) ของปตท.แต่ละคนในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา ว่าสามารถนำพาปตท.เติบโตได้มากน้อยเพียงใด   
 

 

วิเศษ จูภิบาล  
    
 นาย วิเศษ จูภิบาล  ถือเป็นผู้บริหารของปตท.คนแรกในฐานะบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เนื่องจากขณะนั้นนายวิเศษได้นั่งเก้าอี้ผู้ว่าการการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) ในช่วงที่ ปตท.เข้าตลาดหุ้นในปี 2544 พอดี  โดยการดำเนินธุรกิจของ ปตท. ภายใต้การบริหารงานของ นายวิเศษ ฝากผลงานต่างๆ ไว้มากมาย เช่น เปิดตัวร้านกาแฟ คาเฟ่ อเมซอน (Cafe Amazon) เป็นครั้งแรก

จนทำให้ในตลอดช่วงเวลาของการดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี 44-46 ปตท.มีรายได้แตะระดับ 4 แสนล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 24,000 ล้านบาท ภายใต้ระดับราคาน้ำมันเฉลี่ยที่ 24 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล

ประเสริฐ บุญสัมพันธ์

ในวันที่ 9 ส.ค.46 นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ รับไม้ต่อจากนายวิเศษ ในตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ ด้วยความรู้ความสามารถด้านธุรกิจปิโตรเลียมทั้งก๊าซธรรมชาติและน้ำมันเป็นอย่างดี และเป็นลูกหม้อของปตท.อยู่มาถึง 20 ปี จึงได้รับการแต่งตั้งในสมัยแรก อย่างไรก็ตาม "ซีอีโอ ประเสริฐ" ได้ฝากผลงานเอาไว้มากมาย ซึ่งเป็นคนที่นำพา ปตท.ให้มีรายได้แตะระดับ 1.5 ล้านล้านบาท และมีกำไรไต่ระดับเกือบแสนล้านบาท นั่นอาจเป็นจุดสำคัญที่ทำให้นายประเสริฐ ได้รับคัดเลือกให้เป็นซีอีโอ ปตท.สมัยที่สอง ในปี 51-54 ด้วยวิสัยทัศน์การวางเข็มทิศ
ให้กับคนรุ่นหลัง สร้างความแข็งแกร่งให้บริษัทในกลุ่ม 

โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจปิโตรเคมี ในสายการผลิตครบวงจรตั้งแต่ ต้นน้ำ-กลางน้ำ-ปลายน้ำ สร้างมูลค่าเพิ่มให้บริษัท ทำให้ผลงานในเลขที่สองของการเป็นซีอีโอ สามารถสร้างรายได้ให้กับ ปตท.ก้าวขึ้นสู่ระดับ 2 ล้านล้านบาท เป็นครั้งแรก และผลักดันมูลค่าบริษัทเกิน 1.2 ล้านล้านบาท
    

 

ไพรินทร์ ชูโชติถาวร

เมื่อจบภารกิจซีอีโอแบบควบ 2 สมัย นายประเสริฐได้ส่งไม้ต่อให้กับนายไพรินทร์ ชูโชติถาวร เข้ารับช่วงดำรงตำแหน่งซีอีโอ ปตท.คนที่ 3 ในฐานะบริษัทจดทะเบียน โดยยังคงโชว์ฟอร์มได้ดีอย่างต่อเนื่อง ประจวบเหมาะกับสถานการณ์ราคาน้ำมันในช่วงนั้นเป็นขาขึ้น ที่ปิดงวดปีเฉลี่ยเกินระดับ100 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล จึงทำให้ ปตท.มีรายได้ที่มากที่สุด 2.84 ล้านล้านบาท และมีกำไรสุทธิมากที่สุดแตะระดับ 1.05 แสนลบ.

นายไพรินทร์ ยังได้ฝากผลงานไว้มากมายด้วยการนำบริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC กลุ่มธุรกิจไฟฟ้าการบริหารงานภายใต้กลุ่มปตท.สยายปีก เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 

รวมถึงการควบรวมกันระหว่างบริษัท ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (PTTCH) และ บริษัท ปตท. อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด (มหาชน)(PTTAR) และจัดตั้งเป็นบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ PTTGC และเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
    

 

เทวินทร์ วงศ์วานิช

นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ถือว่าเป็นช่วงเวลาเห็นความยากลำบากของการบริหารงาน เนื่องจากสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบ ณ ตอนนั้น ต่ำสุดเฉลี่ยที่ 40-50 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ซึ่งปรับลดลงจากระดับราคาเฉลี่ยที่เกิน 100 เหรียญสหรัฐฯ ในช่วงเวลาแค่ 1-2 ปี เนื่องจากปริมาณน้ำมันดิบมีมากกว่าความต้องการใช้ เพราะการมาของ "Shale Oil" ส่งผลให้ ปตท.มีกำไรสุทธิเพียง 1.9 หมื่นลบ.ซึ่งนับได้ว่าต่ำที่สุดตั้งแต่การเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แต่ในช่วงก่อนปีสุดท้ายของการทำงานนายเทวินทร์ ทำให้ ปตท.มีกำไรสุทธิกลับขึ้นมาที่ระดับ 1.35 แสนลบ.
    
ขณะเดียวกัน ในยุคของนายเทวินทร์ ได้สร้างความฮือฮา ให้กับผู้ถือหุ้น ด้วยการอนุมัติแตกพาร์ของ ปตท.จาก 10 บาท เหลือ 1 บาท เพื่อเป็นการกระจายหุ้นให้นักลงทุนรายย่อยได้เข้าถึงหุ้น ปตท.ให้มากขึ้น หรือเรียกง่ายๆ ว่า "ให้คนไทยได้เป็นเจ้าของบริษัทน้ำมันแห่งชาติได้มากขึ้น" รวมถึงการได้ทำการโอนทรัพย์สินต่างๆในส่วนของธุรกิจน้ำมัน และกลุ่มธุรกิจที่ไม่ใช่น้ำมันให้กับ บริษัทปตท.น้ำมันและการค้าปลีก (PTTOR) เพื่อเตรียมเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
    

 

ชาญศิลป์ ตรีนุชกร

17 ส.ค.61 มีมติแต่งตั้งนายชาญศิลป์ ตรีนุชกร เข้าดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ของ ปตท.ต่อจากนายเทวินทร์  การเข้ามารับตำแหน่งในครั้งนี้ของนายชาญศิลป์ จะมีวาระดำรงตำแหน่งได้เพียง 1 ปี 8 เดือน หากเทียบกับซีโออีคนอื่นๆ แล้ว ดูเหมือนจะเป็นช่วงเวลาที่สั้น เนื่องจากนายชาญศิลป์ จะมีอายุครบ 60 ปี ในวันที่ 12 พ.ค.ปี 63
    
การมาของนายชาญศิลป์ ในฐานะเป็นซีอีโอเป็นเรื่องที่สร้างความประหลาดใจไม่น้อย เนื่องจากซีอีโอคนแรกที่เรียนจบจาก คณะเศรษฐศาสตร์ ซึ่งไม่จบการศึกษาจากคณะวิศวกรรมเหมือนซีอีโอรุ่นพี่ที่ผ่านๆ มา ตลอดในช่วงการทำงานได้พัฒนาองค์กร ปตท.ก้าวไกล โดยขยายการลงทุนในหลายๆรูปแบบ ซึ่งฝากผลงานการเข้าร่วมประมูลและเป็นผู้ชนะโครงการพัฒนาท่าเรือมาบตาพุด เฟส 3 รวมถึงทุ่มงบกว่าแสนล้านบาท เพื่อลงทุนในโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ภายใต้โครงการอีอีซีไอ

อรรถพล ฤกษ์พิบูลย์
 
วันที่ 13 พ.ค. 63 นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ เข้ารับตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท. โดยนายอรรถพล ถือเป็นลูกหม้อที่ทำงานใน ปตท.มายาวนานกว่า 30 ปี และมีประสบการณ์ทำงานมาหลายรูปแบบ จนมีกระแสข่าวว่ากันว่านายอรรพล ถูกวางตัวเตรียมพร้อมให้ขึ้นดำรงตำแหน่งซีอีโอไว้นานแล้ว ด้วยการโยกย้ายให้ไปรู้จักฝึกวิชาสายธุรกิจให้ครอบคลุมเหมาะสมแก่การจะนั่งแท่นตำแหน่งนายใหญ่ ปตท.ขณะเดียวกัน ด้วยวัยเพียง 54 ปี จึงทำให้มีข่าวลือแว่วมาอีกว่ามีโอกาสเป็นไปได้ที่นายอรรถพล จะควบตำแหน่งซีอีโอ 2 สมัย
    
ทั้งนี้ จะต้องติดตามกันต่อไปว่าการบริหารงาน ภายใต้สถานการณ์ความผันผวนของราคาน้ำมันดิบ และปรับตัวลดลงต่ำสุดที่ระดับ 20 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล รวมถึงทั่วโลกต้องประสบปัญหาสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ที่ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ไปยังธุรกิจต่างๆ นั้น นายอรรถพล จะสามารถนำพาให้ ปตท.ก้าวไปไกลต่อเนื่องได้ขนาดไหน

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

RECOMMENDED NEWS

ข่าวหุ้นยอดนิยม


Let's block ads! (Why?)



"การมา" - Google News
June 25, 2020 at 03:51PM
https://ift.tt/2B6r8da

เปิดผลงาน “ซีอีโอ PTT” ในรอบ 20 ปี - efinanceThai
"การมา" - Google News
https://ift.tt/3cm7t5w
Home To Blog

No comments:

Post a Comment